Monday, December 2, 2013

ลดดอกเบี้ยไทย พ.ย. 2556

คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% เป็น 2.25% นั้นผิดความคาดหมายนักวิเคราะห์เกือบทุกคน เดิมทีกนง.ส่งสัญญาณมาโดยตลอดว่าเศรษฐกิจชะลอตัวลงในไตรมาส 1และ เพราะเศรษฐกิจร้อนแรงมากในไตรมาส ของปีที่แล้วและเศรษฐกิจจะต้องฟื้นตัวอย่างแน่นอนในครึ่งหลังของปีนี้และอาจร้อนแรงเกินไปด้วยซ้ำ จึงจะไม่ยอมลดดอกเบี้ยแน่นอนและเตรียมตัวปรับดอกเบี้ยขึ้นด้วยซ้ำ

 

 

หากพิจารณาจากสาระของแถลงการณ์ของกนง.ก็จะเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่ (6 ต่อ1) ให้เหตุผลการลดดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

1. เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาดในไตรมาส 3 โดยเป็นการอ่อนตัวของทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

2. การส่งออกไม่ฟื้นตัว

3. เมื่อมองไปข้างหน้าก็เห็นว่า เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้นจากความไม่แน่นอนทางการเมือง

4. เงินเฟ้อต่ำและสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง

 

ประเด็นน่าสนใจ

ราคาหุ้นไม่ได้ปรับลดลงมากนัก แสดงว่านักลงทุนไม่ได้เป็นห่วงเรื่องการเมืองหรือมีบ้างแต่ไม่มาก หลายคนพยายามถามว่าปัญหาการเมืองครั้งนี้ใกล้ถึงจุดขัดแย้งสูงสุดแล้วหรือยัง โดยเชื่อว่าอีกไม่นานคงจะมีทางออก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ควรหาจังหวะกลับเข้ามาลงทุนได้  

 

การปรับลดดอกเบี้ยน่าจะมีผลประโยชน์บ้างในทางอ้อมกับเศรษฐกิจไทยดังนี้

1. เมื่อลดดอกเบี้ยลงก็น่าจะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปอีก ซึ่งจะเป็นประโยชน์บ้างในการช่วยกระตุ้นการส่งออกสุทธิ (คือเพิ่มการส่งออกและลดการนำเข้า) ซึ่งจะช่วยเพิ่มจีดีพี

2. การลดดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นดอกเบี้ยระยะสั้นในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับต่ำมาก (เช่นปัจจุบัน) น่าจะช่วยให้ดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลงไปด้วย อันจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินและเพิ่มราคาสินทรัพย์

 

สุดท้าย การปรับลดดอกเบี้ยมากเกินไปก็อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่ามากจนกระทั่งเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเงินไหลออกอย่างรวดเร็วในปีหน้าเมื่อธนาคารกลางสหรัฐเริ่มลดทอนคิวอี ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่ากนง.คงจะต้องคิดหนักมากหากจะลดดอกเบี้ยนโยบายอีกในอนาคต

 

ย่อความจากคณะกรรมการนโยบายการเงินหักปากกานักวิเคราะห์ โดย : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ 2/12/2013  

http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/supavut/20131202/546538/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C.html

No comments:

Post a Comment