Saturday, August 27, 2011

MINDFULNESS OF DEATH

MINDFULNESS OF DEATH หรือ การเจริญมรณสติ


มรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะ ว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่น ๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเราเมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วยังจะมีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็ต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสติ นั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไร ๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว

เมื่อผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเช้าออก นั้นจึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท
วันหนึ่ง ๆ เราคิดถึงความตายสักกี่ครั้ง วัน เดือน ปี ล่วงไป ๆ ไม่เคยนึกถึงความตายสักทีเลยก็มี จึงว่าเป็นผู้ประมาท ความประมาทคือความเลินเล่อเผลอสติ ไม่มีสติในตัว ความประมาทจะพาไปถึงไหน ความประมาทคือหนทานแห่งความตาย คำว่า “ ทางแห่งความตาย ” นั้นยังไม่ทันตายหรอก แต่ผู้ประมาทได้ชื่อว่าตายแล้ว เพราะการไม่มีสติก็เหมือนกับคนตาย ความไม่ประมาท คือมีสติอยู่ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นทางแห่งความไม่ตาย ที่มีสติ สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อทุกขณะนั่นแหละ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย 

คนเราเมื่อจะถึงที่สุดเวลาจะตายจริง ๆ มันต้องตัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สติที่เรารักษาไว้ดีแล้วก็จะไม่ปรากฏ มันจะปรากฏแต่ กรรมนิมิต คตินิมิต จะไปเกิดใน สุคติ หรือ ทุคติ ต้องมีกรรมนิมิตปรากฏไปตามกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดมิจฉาจาร เป็นต้น นี้เรียกว่า “ กรรมชั่ว ”

เรียบเรียงบางส่วนจากคำสอนของ โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย 
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับ 43 พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara26.htm

Thursday, August 25, 2011

Panic Disorder 2

http://www.ra.mahidol.ac.th/mental/panic.html

Panic disorder จัดเป็น anxiety disorders ชนิดที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยมักมาพบแพทย์อย่างฉุกเฉินเมื่อเกิดอาการ panic แต่ละครั้ง เนื่องจากกลัวว่าจะเสียชีวิตในทันที หรือคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง WHO รายงานว่ามีอุบัติการณ์ของโรคนี้ราวร้อยละ 1.1 ผลที่ตามมาของโรคนี้ยังก่อให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมาได้อีกหลายประการ เช่น major depression, suicide  , alcohol and drug abuse เป็นต้น

 อาการ
เดิมเคยเรียกโรคนี้ว่า acute anxiety ตามความเฉียบพลันของอาการ หรือตามการจำแนกโรคขององค์การอนามัยโลกเรียกว่า episodic paroxysmal anxiety disorder เนื่องจากอาการเกิดรุนแรงเป็นช่วงๆ อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้คือประมาณ 25 ปี
ตามเกณฑ์วินิจฉัยของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันปี 1994 นั้น โรค panic disorder มีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1) มี panic attack (ได้แก่ การเกิดอาการต่อไปนี้ขึ้นอย่างเฉียบพลัน : แน่นหน้าอก ใจสั่น กลัว หายใจไม่ออก เวียนศีรษะ จุกแน่นท้อง มือเท้าเย็นชา รู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ เหมือนตัวเองกำลังจะตายหรือจะเป็นบ้า) ที่มีลักษณะเริ่มเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แล้วความรุนแรงจะค่อยๆ ลดลงจนหายไปใน 60 นาที
2) เกิดอาการบ่อยๆหรือหากเป็นเพียง 1 ครั้ง ก็ต้องทำให้ผู้ป่วยมีความกลัวว่าจะเป็นซ้ำ
3) ผู้ป่วยไม่สามารถคาดล่วงหน้าได้ว่า จะเกิด panic attack ขึ้นอีกครั้งเมื่อใด(unexpected) มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เกิดอาการขณะนอนหลับจนต้องตื่นขึ้น

จะเห็นได้ว่า อาการ panic นั้น คล้ายกับอาการของโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือโรคของระบบประสาทการทรงตัวอย่างมาก เนื่องจากพบว่ามีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติกับระบบ อวัยวะดังกล่าว  ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จึงไปพบแพทย์สาขาดังกล่าว มีรายงานว่า ผู้ป่วยในคลินิกโรคหัวใจที่มีอาการดังกล่าว แล้วตรวจคลื่นหัวใจหรือแม้แต่สวนเส้นเลือดหัวใจผลเป็นปกติ แท้จริงเป็น panic disorder กว่าร้อยละ 50-60  หากเป็นถึงระดับเป็น major depression อันเป็นผลจากการเป็น panic disorder มานาน แต่ผู้ป่วยยังไม่ทราบสาเหตุ ไม่หาย ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ทั้งที่ร่างกายแข็งแรง ผิดหวังและละอายกับตนเองและครอบครัว บางรายอาจหันไปใช้ยาเสพติดหรือดื่มสุราหรือบางรายพยายามฆ่าตัวตาย

 สาเหตุ
panic disorder เป็นผลจากทั้งปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และพฤติกรรมเรียนรู้ ในช่วงทศวรรษหลังๆ มีการศึกษาจนเข้าใจถึงปัจจัยด้านชีวภาพมากขึ้น ยังผลให้สามารถใช้ยารักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเดิม
 ผู้ป่วยแต่ละรายเกิดโรคนี้โดยมีบทบาทของแต่ละสาเหตุหนักเบาไม่เท่ากัน เช่น บางคนกำลังมีความกังวลกับเรื่องในชีวิตมาก โดยที่ไม่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมมาก่อน ในขณะที่บางคน อาจไม่มีเรื่องกังวลกระตุ้นเลย แต่เกิดมีโรคเพราะปัจจัยทางชีวภาพก็ได้ พบว่าผู้ป่วยบางคนเกิดอาการเมื่อมีการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติจากภายในร่างกายเองขึ้นก่อน เช่น การหิว แน่นท้อง แล้วส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้น locus ceruleus อีกต่อหนึ่ง
การรักษา
การดูแลทางด้านจิตใจ
  • ควรแสดงความเข้าใจและยอมรับในอาการของผู้ป่วยว่ารุนแรงตามที่เขารู้สึกจริง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษา ไม่ใช่ ไม่เป็นอะไร อย่าคิดมากอย่างที่เราตรวจพบ อาจกล่าวว่า หมอเข้าใจว่า เวลาเป็นคงน่ากลัว ทรมานมาก
  • ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า อาการที่เป็นจะไม่มีอันตรายถึงชีวิต เพราะไม่มีโรคทางกายที่รุนแรง การเกิดอาการเป็นเพราะระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งควบคุมอวัยวะภายในต่างๆ ทำงานไวเกินปกติ จึงตรวจไม่พบโรคอะไรที่หัวใจ หรือปอดตามที่เขาสงสัย อาจวาดรูปสมอง โยงกับรูปหัวใจ หรืออวัยวะที่ผู้ป่วยเกิดอาการมากๆ ให้ดู เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
  • หากผู้ป่วยปฏิเสธว่า ตนไม่มีเรื่องเครียด ไม่ต้องคาดคั้นว่า ผู้ป่วยต้องมีเรื่องเครียดแน่นอน เนื่องจากบางรายอาจมีอาการขึ้นเองจากปัจจัยทางชีวภาพของเขา หรือบางรายก็ยังกังวลกับอาการ panic เกินกว่าจะเชื่อมโยงได้ว่า ความกังวลในชีวิตทำให้เขามีอาการ panic ได้
  • ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่า โรคนี้รักษาหายได้แล้วแจ้งแผนการรักษา (ที่จะได้กล่าวต่อไป) ให้ผู้ป่วยทราบแนวทางไว้
  • สอนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้บ้าง เช่น การหายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ การหายใจในถุงกระดาษหากมี hyperventilation เป็นอาการเด่น หรือการกินยาที่แพทย์ให้พกติดตัวไว้
  • แพทย์อาจขอพบญาติของผู้ป่วยเพื่ออธิบายหรือปรับเจตคติที่มีต่อผู้ป่วยให้ดีขึ้น ( เพื่อมิให้่มองว่าผู้ป่วยแกล้งทำเพื่อหลบเลี่ยงความรับผิดชอบหรือเป็นเพียงผู้ป่วยคิดมากไปเอง
การรักษาด้วยยา
มียากลุ่ม benzodiazepine ที่มี potency สูง และยาต้านอารมณ์เศร้าหลายชนิดที่ได้รับการศึกษาทดลองแล้วสามารถรักษาโรค panic disorder ได้ผลดี ตามตารางที่ 2
 ตารางที่ 2 ยารักษา panic disorders

generic name, trade name, initial dose, max dose (mg/day)
Benzodiazepine
lorazepam, Ativan, 0.5 mg tid., 4-6
alprazolam, Xanax, 0.25mg tid., 4-6
clonazepam, Rivotril, 0.5 mg bid, 1-4
Antidepressants
imipramine, Tofranil, 25 mg hs, 75-150
clomipramine, Anafranil, 25 mg hs, 75-150
fluoxetine, Prozac, 20 mg am, 40-80
fluvoxamine, Faverine 50 mg bid, 150-300

Panic Disorder

โรคแพนิค (Panic Disorder)
โดย : ผศ.นพ.สเปญ อุ่นอนงค์
http://health.kapook.com/view3147.html
http://www.infomental.com/hvs.htm
         โรคแพนิค เป็น โรคชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียกโรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆ แล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจ และ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน หรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วย 

         โดย ที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วย โรคแพนิค จะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตาย กลัวเป็นโรคหัวใจ บางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือเป็นบ้า  อาการต่าง ๆ มักเกิดขึ้นทันทีและค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลีย และในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

         อาการ โรคแพนิค จะ เกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยาก แต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกต และเชื่อมโยงหาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยง และรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่น ผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถก็จะไม่กล้าขับรถ บางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้าขึ้นสะพานลอย ผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วย ในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้ เช่น การออกกำลังหนัก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

         ขณะ เกิดอาการ ผู้ป่วย โรคแพนิค มักกลัวและรีบไปโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมา ผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกัน ผู้ป่วย โรคแพนิค หลาย ๆ รายไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด และไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้

         ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเรียกว่า อาการแพนิค (panic attack) ซึ่งแปลว่า "ตื่นตระหนก" เราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่าง ๆ จะคล้ายกับอาการของคนที่กำลังตื่นตระหนก ใน โรคแพนิค ผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเอง โดยไม่มีเหตุกระตุ้น และคาดเดาไม่ถูกว่าเมื่อไรจะเป็นเมื่อไรจะไม่เป็น การไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้น

          อาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานาน บางคนเป็นมาหลายปี เกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้ง แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักที บางคนเป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล "แทบไม่ทัน" แต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป "ทัน" ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย

         ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าผู้ป่วย โรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนที่ทำให้เกิดอาการ “ตื่นตระหนก” โดยเป็น ความผิดปกติของสารสื่อนำประสาท บางอย่างเราจึงสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยยา ยาที่ใช้รักษา โรคแพนิค จะมี 2 กลุ่ม คือ        
         
1. ยาป้องกัน
เป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้า ปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผลคืออาการแพนิคจะห่างลง และเมื่อเป็นขึ้นมาอาการก็จะเบาลงด้วย เมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลย ยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัว เช่น เล็กซาโปร (lexapro) โปรแซก (prozac) โซลอฟ (zoloft) ยากลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหาย ในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายทั้งยาป้องกันและยาแก้ 

         เพราะ ในช่วงแรก ๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆ หยุดยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีก แต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลง ในกรณีแบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อย ๆ ลดยาลงช้า ๆ
       
         2. ยาแก้ เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ใช้เฉพาะเมื่อเกิดอาการขึ้นมา เป็นทีกินที กินแล้วหายเร็ว ได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกันในนามของยา “กล่อมประสาท” หรือยา “คลายกังวล” เช่น แวเลี่ยม (valium) แซแนก (xanax) อะติแวน (ativan) ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง (แปลว่าไม่มีพิษ ไม่ทำลายตับ ไม่ทำลายไต) แต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆ (2-3 สัปดาห์ขึ้นไป) จะเกิดการติดยาและเลิกยากและเมื่อหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา ซึ่งจะมีอาการเหมือนอาการแพนิค ทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าหายหรือยัง ดังนั้นแพทย์จะเน้นกับผู้ป่วยว่าให้กินเฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น ยังไม่เป็นห้ามกิน รอให้เริ่มมีอาการแล้วค่อยกินก็ทันเพราะมันออกฤทธิ์เร็ว

Xanax

ยา Xanax เป็นชื่อทางการค้าของยาที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง มีผลในการ
กล่อมประสาท ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ก็คือ สารอัปราโซแลม (Alprazolam) จัดอยู่ในกลุ่ม
Benzodiazepine เป็นยาที่การแพทย์ใช้กันมานานแล้ว เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยที่มี
การอาการวิตกกังวล  ลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหรือ
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เป็นยาที่ใช้โดยทั่วไปในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่ได้รับ
อนุญาตประกอบการ หรือขายตามร้านขายยาโดยเภสัชกรที่ได้รับใบอนุญาตและการซื้อขายจะ
ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ผู้มีใบประกอบโรคศิลป์กํากับ
ชื่อทางการค้า Xanax
สารเคมีที่ออกฤทธิ์ Alprazolam
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ 8-chioro-1-methyl-6-phenyl-4H-s-tirazolo (4,3,-a) (1,4)
benzodiazepine
ปริมาณ มีปริมาณตั้งแต่ 0.25 กรัม 0.5 กรัม และ 1 กรัมต่อเม็ด

กฎหมาย จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 ตาม พ.ร.บ.
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
โทษทางกฎหมาย ผู้ขายโดยไม่มีใบอนุญาตจะถูกดํ าเนินคดีโดยโทษสุงสุดจําคุก
ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง มีผลกล่อมประสาท ทางการแพทย์
ใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวลมากเกินปกติ  เพราะมีฤทธิ์ทําให้เกิดอาการสงบ
แต่ไม่ถึงกับหลับ แต่บางครั้งอาจทําให้หลับได้แต่ก็เป็นหลับที่เกิด
จากอาการอ่อนเพลียของร่างกายที่ต้องการการพักผ่อนมากกว่า
นอกจากนี้ใช้ในการลดอาการวิตกกังวลแล้วยังใช้ลดความเครียด
ผ่อนคลายความตึงเครียดกล้ามเนื้อ ควบคุมอาการบางชนิดของ
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งแพทย์จะแนะนําให้ใช้ยาในระยะ
สั้น ๆ เท่านั้น เพราะหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทําให้เกิดผล
ข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
ผลระยะสั้น ผ่อนคลายความวินกกังวล ความตึงเคียดกล้ามเนื้อ ลดความ
ตื่นตัวทางอารมณ์

ผลระยะยาว ยากล่อมประสาทส่วนมากจะสะสมในเนื้อเยื่อของร่างกายระหว่าง
การใช้ยาที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังพบว่าจะ
สะสมในตัว สมอง หัวใจ และปอดของทารกในครรภ์หากมารดา
ใช้ยานี้ซึ่งจะทํ าให้เด็กเกิดอาการขาดยาหลังคลอด และการใช้ยา
นี้ระยะยาวนานอาจนํ าไปสู่ความก้าวร้าวที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลด
อาการก้าวร้าวในผู้ป่วยบางราย
การดื้อยาและการเสพติด การใช้ทั่วไปอาจนํ าไปสู่การดื้อยาซึ่งต้องเพิ่มปริมาณเพื่อทํ าให้ฤทธิ์
ยามีประสิทธิภาพตามต้องการ การเสพติดทางร่างกายและจิตใจ
อาจเกิดขึ้นได้หากใช้ในปริมาณมาก ๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา
ยาวนาน

อาการขาดยา อาการขาดในกลุ่ม Benzodiazepine อาจเกิดขึ้นได้หากมีการใช้
ในปริมาณที่มากอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลายาวนาน โดยจะ
ทํ าให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อ
ออกมากกระวนกระวายใจ เกิดความอ่อนเพลียทางร่างกายและจิตใจ
ผลข้างเคียง หากใช้ในปริมาณมาก ๆ จะทํ าให้มีอาการอ่อนเพลียทางร่างกาย
และจิตใจ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์หากมารดา
ใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์

ที่มา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
http://teno.exteen.com/20060512/xanax